วันเสาร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ว่านพระยากระบือ

แกะรอยว่าน
ตอนที่ 2  ว่านพระยากระบือ
ว่านพระยากระบือ
          ว่านพระยากระบือ  จัดเป็นว่านในตำรา  พบในตำราของ หลวงประพัฒสรรพากร, ชัยมงคล  อุดมทรัพย์,      พยอม  วิไลรัตน์, อุตะมะ  สิริจิตโต, นายเลื่อน  กัณหะกาญจนะ, อาจารย์ญาณโชติ  ตามลำดับ
หลวงประพัฒสรรพากร (2475, หน้า 25)
          ว่านพระยากระบือ  หัวเหมือนหัวกลอย  ต้นเหมือนมะตูม  ใบซอยๆ  ต้นและดอกหอมเหมือนแก่นจันทน์  วันอังคารและวันเสาร์ร้องดังเหมือนกระบือ (แต่ไม่ปรากฎใช้อะไร)
พยอม  วิไลรัตน์ (2504, หน้า  74)  ได้ระบุประโยชน์ของ  ว่านพระยากระบือ  ไว้ดังนี้
          มีคุณในการทำให้ผู้ได้ว่านนี้มาปลูกไว้  และรักษาเป็นอย่างดี  เกิดสมบูรณ์พูนสุขสวัสดิมงคลแก่ตัวและครอบครัว  ย่อมนำโชคลาภมาสู่ตลอดเวลา
          ว่านพระยากระบือ  ที่เล่นกันในปัจจุบันมีอยู่ 3 ชนิด  คือ

ชนิดแรกนี้  เป็นว่านพระยากบือ  สายของป้าบุญช่วย  ใจยุติธรรม  เป็นผู้ค้นคว้า
ชนิดที่สอง  เป็นว่านพระยากระบือ  สายของ อ.หล่อ  ขันแก้ว เป็นผู้ค้นคว้า

ชนิดที่สาม  เป็นว่านพระยากระบือ  สายของ อ.มา  เครื่องทองดี  เป็นผู้ค้นคว้า
(ผู้เขียนพบว่า  ชนิดที่สามนี้  มีชื่อท้องถิ่นว่า  มันเขาวัว)
          เมื่อเทียบกับตำราแล้ว  ผู้เขียนคิดว่า  ว่านพระยากระบือชนิดแรก  สายป้าบุญช่วย  ใจยุติธรรม  มีลักษณะค่อนข้างตรงตามตำรามากกว่าชนิดอื่นในขณะนี้  ด้วยเหตุผล  คือ  หัวเหมือนกลอย  และใบเป็นซอยๆ 
แต่ยังไม่ถือเป็นข้อยุติของว่านชนิดนี้   จนกว่าจะมีการค้นพบว่านพระกระบือที่มีลักษณะใกล้เคียงตามตำรามากกว่านี้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น